ผลงานทางวิชาการ

ผมกำลังเขียนผลงานทางวิชาการเพื่อเลื่อนวิทยฐานะ จากชำนาญการเป็นชำนาญการพิเศษ คอยลุ้นว่าจะผ่านหรือไม่?

เรื่องที่เขียน คือ

การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในโรงเรียนบ้านลือมุ โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายใน ตาม กฎกระทรวง ว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.2553 ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ถ้าสนใจก็ค่อยติดตามครับ

Posted in ผลงานทางวิชาการ | Tagged , , | Leave a comment

รายการวิจัย : การมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการสถานศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษายะลา เขต 1

          


Posted in Books | Leave a comment

ก่อนอ่านงานวิจัยทางการศึกษา

ชื่อบทความวิจัย
ก่อนอ่านงานวิจัยทางการศึกษา

 

ชื่อบทความภาษาอังกฤษ

ชื่อผู้เขียน

ดร.อุทุมพร ทองอุไทย ,

เนื้อหา

 

คำนำ

ก่อนที่จะอ่านงานวิจัยทางการศึกษา
ผู้อ่านจำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานในเรื่อง
เนื้อหาวิจัย
และระเบียบวิธีวิจัย
ตลอดจนรู้จักแหล่งที่เผยแพร่งานวิจัย
ในบทความนี้จะเสนอประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการอ่านงานวิจัยทางการศึกษาเป็น
3 ประเด็นที่เกี่ยวข้องกัน คือ

  • แหล่งที่เผยแพร่งานวิจัย
  • ลักษณะงานวิจัยที่คุณภาพ
  • ศัพท์เทคนิคทางการวิจัย

ดังมีรายละเอียดดังนี้
คือ

แหล่งที่เผยแพร่งานวิจัย

งานวิจัยที่เผยแพร่อยู่ในปัจจุบัน
นิยมตีพิมพ์เสนอในวารสาร
พิมพ์อัดสำเนาและเสนอในที่ประชุม
ซึ่งรูปแบบการนำเสนอมักจะแตกต่างกันตามความจำกัดต่าง

งานวิจัยที่ตีพิมพ์ลงในวารสารมักจะมีขนาดสั้น
เพราะความจำกัดในด้านเนื้อที่และราคาพิมพ์งานวิจัยเหล่านี้
จึงประกอบด้วยหัวข้อดังนี้ คำนำ
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
วิธีวิจัย สรุปผลวิจัย อภิปราย
บรรณานุกรม
ตามปกติงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการทั่วไปมักจะมีจำนวนหน้าไม่เกิน
15 หน้า ดังนั้น
งานวิจัยเหล่านี้จึงต้องได้รับการเขียนให้สั้น
ตรงประเด็น
และบางครั้งเหมาะสำหรับผู้อ่านที่อยู่ในวงการเดียวกัน
อย่างไรก็ตามงานวิจัยที่ตีพิมพ์ลงในวารสารต่าง
ๆ ก็มีคุณภาพต่าง ๆ
กันตามคุณภาพของวารสาร เช่น
วารสารบางฉบับจะพิมพ์เฉพาะงานวิจัยที่คัดเลือกแล้วเท่านั้น
จะไม่พิพม์พร่ำเพรื่อ ดังนั้น
การอ่านงานวิจัยในวารสารต่าง ๆ
เหล่านั้นย่อมทำให้เกิดวิถีแห่งปัญญาได้มากกว่างานวิจัยที่ตีพิมพ์ลงในวารสารอื่น

จากการสำรวจการจัดลำดับคุณภาพวารสารไทย
จำนวน 19 ฉบับ
และวารสารต่างประเทศจำนวน 24 ฉบับ
ซึ่งเป็นวารสารทางด้านการศึกษา
สังคมศาสตร์ และจิตวิทยา
ปรากฏว่า
จากการวัดลำดับตามเกณฑ์ต่าง ๆ
โดยนักการศึกษาทั่วประเทศไทย
สรุปได้ว่า (อุทุมพร ทองอุไทย, 2522)

เกณฑ์ที่ 1
วารสารไทย/เทศที่มีบทความ
งานวิจัยที่เป็นงานของวิชาการมากที่สุด
5 ลำดับแรก คือ

ภาษาไทย

ภาษาอังกฤษ

1.
วารสารการวิจัยการศึกษา

1. Journal of Research Development in
Education

2.
วารสารคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ

2. Review of Education Research

3.
วารสารจิตวิทยาคลีนิค

3. Journal of Education Review

4.
วารสารครุศาสตร์

4. Journal of Teacher Education

5.
วารสารสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์

5. Research in Education

เกณฑ์ที่ 2
วารสารไทยที่คิดว่าดีที่สุด 5
ลำดับแรก คือ

  1. วารสารวิจัยทางการศึกษา
  2. วารสารครุศาสตร์
  3. วารสารคุรุปริทัศน์
  4. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
  5. วารสารสภาการศึกษาแห่งชาติ

ดังนั้น
งานวิจัยต่าง ๆ
ที่พิมพ์เผยแพร่ลงในวารสารที่ได้รับการจัดลำดับน่าจะเป็นงานวิจัยที่ให้ผลวิจัยที่เป็นวิชาการ
ความเชื่อถือได้น่าจะสูง

ส่วนงานวิจัยที่พิมพ์อัดสำเนา
มักจะมีการเผยแพร่ไม่กว้างขวาง
ส่วนมากนักวิจัยมักจะนิยมส่งไปให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและห้องสมุดบางแห่ง
ดังนั้น
การค้นคว้าอ่านงานวิจัยเหล่านี้จึงมีความยากลำบาก
งานวิจัยที่พิมพ์อัดสำเนามักจะเป็นการพิมพ์เป็นฉบับสมบูรณ์
มีจำนวนหน้ามากกว่างานวิจัยที่พิมพ์ลงในวารสาร
ดังนั้นการอ่านงานวิจัยเหล่านี้จึงได้รายละเอียด
ประเด็นปลีกย่อยมากกว่าการอ่านงานวิจัยที่พิมพ์ลงในวารสาร

งานวิจัยที่เสนอผลในที่ประชุม
เช่นการประชุมทางวิชาการซิมโปเซียน
มักจะเสนอในรูปปากเปล่า
ใช้เวลาสั้น ๆ เช่น เรื่องลง 10-15
นาที
ผู้เสนอจึงมักจะเสนอแต่ประเด็นสำคัญ
ๆ เท่านั้น
ซึ่งถ้าผู้ฟังสนใจก็อาจสอบถามและติดตามขอรายงานเองได้
และในบางครั้งที่ประชุมอาจจัดพิมพ์บทคัดย่อของรายงานการประชุมก็ได้
เช่น
รายงานวิจัยที่เสนอในที่ประชุมซิมโปเซียม
ซึ่งจัดโดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ
ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 15-19 ตุลาคม 2522
มีงานวิจัยทางการศึกษา 265 เรื่อง
และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
181 เรื่อง ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 7-11
กันยายน 2524 มีงานวิจัยทางการศึกษา
200 เรื่อง
และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
111 เรื่อง
ซึ่งการอ่านงานวิจัยซึ่งเป็นบทคัดย่อเหล่านี้จะช่วยให้ผู้อ่านได้ทราบคร่าว
ๆ ว่าใครทำอะไรที่ไหน อย่างไร
และถ้าต้องการรายละเอียดก็อาจติดตามขอจากผู้วิจัยเองได้

ลักษณะงานวิจัยที่มีคุณภาพ

งานวิจัยในประเทศไทยโดยเฉพาะสาขาการศึกษามีจำนวนมาก
บางเรื่องมีความสำคัญให้คุณค่ามาก
แต่บางเรื่องให้คุณค่าน้อย
บางเรื่องครอบคลุมทั่วประเทศ
บางเรื่องครอบคลุมเฉพาะกลุ่มเล็ก
บางเรื่องเป็นวิจัยบริสุทธิ์
บางเรื่องเป็นวิจัยประยุกต์
บางเรื่องเป็นการสำรวจปัญหาและความต้องการ
บางเรื่องเป็นการทดลอง ดังนั้น
งานวิจัยต่าง ๆ ที่ตีพิมพ์
เผยแพร่อยู่จึงมีลักษณะแตกต่างกันยากที่จะประเมินคุณภาพ
และนำมาเปรียบเทียบกันได้
อย่างไรก็ตาม มีหลักอยู่คร่าว ๆ
ที่จะช่วยให้นักศึกษาสามารถนำไปใช้พิจารณาคุณภาพงานวิจัย
คือ

  1. ปัญหาที่นำมาวิจัย
    มีความชัดเจน
    สำคัญและมีความใหม่มากน้อยเพียงใด

  2. มีความเชื่อมโยงสอดคล้องระหว่างปัญหาวิจัย
    แนวคิด (Conceptual Frame Work) สมมุติฐาน
    วัตถุประสงค์ วิธีวิจัย
    วิธีวิเคราะห์ การสรุปผลหรือไม่

  3. การอภิปรายผลให้คุณค่า
    ให้ความรู้ใหม่ต่อผู้อ่านหรือไม่

หลักทั้ง 3 ข้อนี้
ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของผู้อ่านว่า
งานวิจัยนั้นมีคุณภาพมากน้อยเพียงใด
จัดทำขึ้นโดยภาควิชาวิจัยทางการศึกษา
คณะครุศาสตร์
ซึ่งได้เสนอแบบฟอร์ม
และค่าเพื่อตีเป็นคะแนนรวม

ศัพท์เทคนิคทางการวิจัย

ในรายงานการวิจัย
ผู้อ่านจะพบกับคำศัพท์จำนวนมากที่เป็นศัพท์เทคนิคต่าง
ๆ ในที่นี้ จะเสนอคำศัพท์
ตลอดจนความหมายเฉพาะที่พบบ่อย ๆ
ดังนี้คือ

1.
ปัญหาวิจัย

คือ ประเด็น
ข้อสงสัย ข้อขัดแย้ง
หรือข้อคิดที่ต้องการคำตอบจากระบวนการศึกษาค้นคว้าอย่างมีระบบ
เช่น
ค่านิยมของคนไทยเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมการใช้พลังงานของคนไทยหรือไม่?
สติปัญญามีส่วนสัมพันธ์กับความสนใจอาชีพครูหรือไม่?
เหล่านี้เป็นปัญหาที่ต้องการคำตอบด้วยการวิจัย

2. แนวคิด

คือ ลู่ทาง
หรือแนวทางที่ช่วยกำหนดรูปแบบการวิจัย
เช่น
จะศึกษาทัศนคติต่อวิชาชีพครูของครูประจำการ
แนวคิดในที่นี้คือ
มีตัวแปรหรือตัวประกอบหรือปัจจัยอะไรบ้างที่เกี่ยวข้อง
หรือกำหนดทัศนคติต่อวิชาชีพครูบ้าง
ปัจจัยในที่นี้อาจเป็นปัจจัยทางเศรษฐกิจ
สังคม ประชากรศาสตร์ก็ได้
ดังนั้น
ในการศึกษาจึงต้องกำหนดปัจจัยต่าง

เพื่อศึกษาหาความสัมพันธ์กับทัศนคติต่อวิชาชีพครู

3. สมมุติฐาน

คือ
คำตอบหรือผลวิจัยที่คาดไว้ล่วงหน้า
เช่น
คาดว่าปัจจัยทางประชากรศาสตร์ทางสังคม
และทางเศรษฐกิจจะเกี่ยวข้องกับทัศนคติต่อวิชาชีพครู
แต่การคาดการณ์นี้ยังไม่ได้รับการยืนยันว่า
จะเป็นเช่นนั้นหรือไม่
และจะเกี่ยวข้องกันมากน้อยเพียงใด

4.
ความไม่สมบูรณ์ของการวิจัย

ตามปกติการวิจัยทุกเรื่องจะไม่สมบูรณ์
เนื่องจากความจำกัดบางอย่างในเรื่องเวลา
แรงงาน เงินงบประมาณ ความคิด
ความสามารถในการวัดและจัดกระทำ
ฯลฯ ดังนั้น
ถ้าผู้วิจัยสามารถทราบและระบุความไม่สมบูรณ์ของการวิจัยของเขาได้
จะช่วยให้การสรุปผลชัดเจนและน่าเชื่อถือมากขึ้น
เพราะจะทำการสรุปผลภายใต้ข้อจำกัดต่าง

5.
คำจำกัดความ

ถ้าในการวิจัยมีคำหรือวลี
ซึ่งอาจจะมีความหมายเฉพาะในงานวิจัยนั้น
ๆ จำเป็นต้องอธิบายและขยายความ
เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจตรงกันกับผู้วิจัย
คำจำกัดความนี้มิใช่คำนิยามที่คัดลอกจากพจนานุกรม
หากเป็นคำจำกัดความที่ได้จากการวัด
เช่น
คำว่าทัศนคติต่ออาชีพครูในวิจัยนี้
หมายความถึงคะแนนที่ได้จากแบบวัดทัศนคติต่ออาชีพครู
ซึ่งสร้างโดยผู้วิจัย
ซึ่งครอบคลุมเรื่องความรู้และความรู้สึกต่อาชีพของครู
เป็นต้น

6. วิธีวิจัย

ผู้วิจัยจะต้องกล่าวถึงวิธีการที่จะวิจัยหรือวิธีดำเนินงานวิจัยด้วย
ในทางสังคมศาสตร์นิยมที่จะครอบคลุมเรื่องต่าง
ๆ คือ ประชากร กลุ่มตัวอย่าง
การรวบรวมข้อมูล วิธีวิเคราะห์
และวิธีเสนอผลการวิเคราะห์
ดังนั้น
วิธีวิจัยที่จะช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจถึงขั้นตอนว่าข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยนี้ได้มาอย่างไร
รวบรวมจากใคร ที่ไหน เมื่อไร
และจะวิเคราะห์เพื่อตอบคำถามตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยอย่างไร

7.
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

ประชากร
ในความหมายของการวิจัย หมายถึง
จำนวนทั้งหมดที่ศึกษา เช่น
จำนวนคนในประเทศไทย
ที่ใช้ในการศึกษาเรื่องโครงสร้างทางสังคมไทย
เป็นต้น

ส่วนกลุ่มตัวอย่างคือ
ส่วนย่อยของประชากร
การวิจัยเชิงสำรวจ
เน้นกลุ่มตัวอย่างที่เป็นตัวแทนของประชากร
ดังนั้น
กลุ่มตัวอย่างจึงสำคัญมากเพราะจะต้องสุ่มใ
ห้ได้กลุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะเหมือนประชากรทุกประการ
ยกเว้นขนาดที่เล็กกว่าเท่านั้น
การได้มาซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่เล็กกว่าประชากร
มักนิยมใช้การสุ่มตัวอย่าง

8. ตัวแปร

คือ สื่งที่ศึกษา
ซึ่งมีลักษณะแปรเปลี่ยนไปตามบุคคลหรือสิ่งของที่ให้ข้อมูล
เช่น
ความคิดเห็นของคนไทยต่อมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ในที่นี้ตัวแปรคือ
ความคิดเห็นซึ่งแตกต่างกันตามกลุ่มที่ไปศึกษา

9.
เครื่องมือวิจัย

คือสิ่งที่จะช่วยให้ได้ข้อมูลมาทำการศึกษาวิเคราะห์เครื่องมือในที่นี้
เช่น แบบทดสอบ แบบวัด แบบสอบถาม
แบบสังเกต เครื่องชั่งน้ำหนัก
เครื่องวัดส่วนสูง
เครื่องมือทดลองทางจิตวิทยา
หรือเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์
วิศวกรรมศาสตร์ เป็นต้น

10.
สถิติศาสตร์

เป็นวิชาที่ช่วยให้ได้ข้อมูล
วิเคราะห์และสรุป
ข้อมูลสถิติศาสตร์แบ่งเป็น 3
สาขาที่เกี่ยวข้องกันคือ (ก)
สถิติศาสตร์ที่ใช้เพื่อบรรยายข้อมูลที่รวบรวมมาได้
เช่น การหาค่าเฉลี่ย
การวัดการกระจาย
การเสนอในรูปตาราง ฮิสโตแกรม
เป็นต้น (ข)
สถิติศาสตร์ที่ใช้สรุปอ้างอิงจากกลุ่มตัวอย่างไปหาประชากร
เช่น
สรุปจากค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง
(X) ไปหาค่าเฉลี่ยของประชากร ( m )
ภายใต้ความเชื่อมั่นที่กำหนด
ซึ่งจะทำให้สามารถสรุปไปได้กว้างขวางกว่า
เพราะสรุปไปหาประชากรซึ่งมีขนาดใหญ่กว่ากลุ่มตัวอย่าง
ส่วนที่สามคือ (ค)
สถิติวิเคราะห์ความแปรปรวน
ซึ่งช่วยให้สามารถทดสอบสมมติฐานในเรื่องเหตุผลได้
ดังนั้นงานวิจัยที่ใช้สถิติต่างกันย่อมสรุปผลได้ต่างกัน

11.
ความมีนัยสำคัญ (a )

ในการสรุปอ้างอิงค่ากลุ่มตัวอย่าง
(สถิติ) ไปหาค่าประชากร (พารามิเตอร์)
จำเป็นต้องอาศัยความน่าจะเป็น
ในที่นี้คือ
สรุปความสำคัญตามนัยนั่นเอง
การสรุปนี้เป็นการสรุปภายใต้การคาดคะเนเกี่ยวกับโอกาสที่จะเกิดขึ้น
ตามปกตินักวิจัยส่วนมากนิยมสรุปภายใต้ความมีนัยสำคัญ
a ค่า คือ .05 และ .01 ซึ่งไม่จำเป็น
นักวิจัยอาจจะสรุปค่าความมีนัยสำคัญค่าใด
ๆ ก็ได้
ถ้าเข้าใจความหมายของตัวเลขเหล่านี้ว่า
หมายถึงโอกาสที่จะปฏิเสธสมมติฐานทางสถิติที่ถูก
เช่น ถ้ากำหนดให้ a (ระดับความมีนัยสำคัญ)
เป็น .05 หมายความว่า
ถ้ามีการวิจัยนี้ซ้ำ 100 ครั้ง
จะปรากฏผลแตกต่างจากข้อสรุปนี้ 5
ครั้ง ในทำนองเดียวกัน ถ้า a เป็น .01
โอกาสที่จะสรุปแตกต่างออกไปจะเป็น
1 ครั้ง ดังนั้น
จะเห็นว่าในการตั้ง a = .01
ย่อมคาดคะเนโอกาสที่จะสรุปอย่างความคลาดเคลื่อนย่อมน้อยลงด้วย

12.
ความเชื่อถือได้ของเครื่องมือ

ในการวิจัยส่วนมากจะอาศัยการรวบรวมข้อมูลอย่างมีระบบ
ซึ่งมักจะผ่านเครื่องมือต่าง ๆ
เช่น แบบสอบถาม แบบทดสอบ แบบวัด
เครื่องมือทดลอง เป็นต้น
เครื่องมือเหล่านี้ต้องได้รับการพิสูจน์ในด้านคุณภาพของเครื่องมือก่อนว่าให้ข้อมูลเชื่อถือได้มากน้อยเพียงใด
การวิจัยทางการศึกษาถ้าใช้แบบทดสอบ
(Test)
เป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล
แบบทดสอบนั้นต้องระบุค่าความเที่ยง
(Reliability Coefficient) และค่าความตรง (Validity Coefficient)
ของแบบทดสอบด้วย
ค่าความเที่ยงและค่าความตรงให้ความหมายต่างกัน
คือ

ค่าความเที่ยงจะบอกให้ทราบว่า
เครื่องมือนั้นมีความเชื่อถือได้หรือมีความคลาดเคลื่อนในการวัดมากน้อยเพียงใด
ถ้าเชื่อถือได้สูงก็คลาดเคลื่อนน้อย

ค่าความตรง
บอกให้ทราบว่า
เครื่องมือนั้นวัดได้ตามที่ต้องการจะวัดมากน้อยเพียงใด
เช่น ต้องการวัดความซื่อสัตย์
เครื่องมือนี้สามารถวัดคนซื่อสัตย์ได้หรือไม่
จำแนกคนซื่อสัตย์จากคนไม่ซื่อสัตย์ได้หรือไม่
เป็นต้น

ค่าความเที่ยงและค่าความตรง
โดยการคำนวณจะได้ค่าอยู่ระหว่าง
0 ถึง 1 ดังนั้น ถ้าค่าเข้าใกล้ 1
แสดงว่ามีความเที่ยงหรือความตรงสูงขึ้นตามลำดับ

Posted in Books | Leave a comment

พบปะ

สวัสดีครับ

              ไม่ได้ Update ข่าวสาร มานานพอสมควร   วันนี้อยากจะแจ้งข่าวสารให้กับพี่น้องครูได้รับทราบว่า ต่อไปนี้คุณครูทุกคนจะต้องทำบันทึกความดีกันแล้ว และจะต้องส่งให้กับผู้บริหารปีละ 2 ครั้ง เพื่อที่ผู้บริหารจะได้ประเมิ นในเรื่องความดีความชอบต่อไป และการบันทึกความดีเป็นมติของคณะรัฐมนตรี ซึ่งจะต้องบันทึกจนกว่าจะเกษียณ

Posted in ข่าวสารและการเมือง | Leave a comment

สื่อการนิเทศ

ปีที่ 1  ฉบับที่ 2  ประจำวันที่  30  เดือน สิงหาคม  พ.ศ. 2549   โดย ผอ.หาษบูเลาะ  สาแม

สื่อการนิเทศภายใน      

 

                สื่อการนิเทศภายในฉบับนี้ เป็นการเขียนต่อจากฉบับที่แล้วในเรื่องของการบริหารเวลาที่ได้นำข้อเขียนของอาจารย์อินทิรา หิรัญสาย  ศึกษานิเทศก์ 8 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปัตตานี เขต 2 และนำข้อเขียนจากในหนังสือเรื่อง 7 อุปนิสัยสำหรับผู้ทรงประสิทธิภาพยิ่งของ Stephen R.Covey  มาเพิ่มเติม……..

                ทุกวันนี้เรามักจะได้ยินได้ฟังจากคนรอบข้างของเราว่า  ไม่มีเวลา งานมันยุ่ง งานที่คิดไม่ได้ทำ ทำแต่งานของคนอื่น ทำแต่งานนโยบาย  เมื่อเป็นลักษณะนี้ เราจะมาบริหารเวลาเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ ตามคำเขียนของอาจารย์ที่กล่าวข้างต้น…….

                นักบริหาร หรือบุคคลทั่วไป เมื่อกล่าวถึงทรัพยากรทางการบริหาร ส่วนใหญ่จะนึกถึง และให้ความสำคัญกับ 4 M’s ซึ่งประกอบไปด้วย คน (Man) เงิน (Money) วัตถุสิ่งของ (Materials) และการจัดการ (Management) เท่านั้น โดยเข้าใจว่า ถ้าขาดอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็จะทำให้การดำเนินงานขาดความต่อเนื่อง ไม่ราบรื่น ไม่ประสบความสำเร็จ และไม่เกิดประสิทธิภาพ ถ้ามองข้ามในเรื่องของ เวลา (Time or Minute) ซึ่งเป็นปัจจัยหลักอีกตัวหนึ่งที่ก่อให้เกิดประสิทธิผลในการบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ เพราะ เวลา เป็นทรัพยากรที่อยู่ใกล้ตัวมากที่สุด เป็นสิ่งที่ทุกคนมีอยู่แล้วอย่างเท่าเทียมกัน และมีอยู่อย่างจำกัด ไม่สามารถหาสิ่งใด หรือทรัพยากรทางการบริหารตัวใดมาทดแทนได้ เวลา มีแต่จะหมดไป เช่น ใน 1 วัน มี 24 ชั่วโมง หรือ 1,440 นาที ไม่มีหนทางใดที่จะหาเวลามาเพิ่มเติมได้มากกว่านี้อีกแล้ว

                วลา มีส่วนสัมพันธ์กับการดำรงชีวิตของมนุษย์ เนื่องจากการประกอบกิจกรรมใด ๆ ก็ตามย่อมต้องอาศัยเวลาทั้งสิ้น ดังนั้น ผู้ที่รู้คุณค่าของเวลาเท่านั้นจึงสามารถแสวงหาประโยชน์จากเวลาในการสร้างสรรค์สิ่งทีมีคุณค่า และคุณประโยชน์สูงสุดในภาระหน้าที่ โดยใช้เวลาให้น้อยลง หรือทำงานให้มากขึ้น มีผลผลิตสูงขึ้น ด้วยการกำหนดความสำคัญของกิจกรรม เพื่อการบริหารเวลา ออกเป็น 4 ประเภท คือ

1.       กิจกรรมที่สำคัญ และเร่งด่วน

2.       กิจกรรมที่สำคัญ แต่ไม่เร่งด่วน

3.       กิจกรรมที่เร่งด่วน แต่ไม่สำคัญ

4.       กิจกรรมที่ไม่สำคัญ และไม่เร่งด่วน

/ฉบับหน้า….วางแผนการบริหารเวลา

 

Posted in ข่าวสารและการเมือง | 1 Comment